Opinion - สงครามข่าวสาร วิจารณญาณพึงมี (This article is provided in Thai.)

     

       ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในสังคมไทยตั้งแต่ปี 2563 ระหว่างกลุ่มที่ต้องการปฏิรูปสถาบันฯ กับกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ข้อมูลข่าวสารพพรั่งพรูอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง การรับข้อมูลข่าวสารแต่ละเรื่อง จำเป็นที่จะต้องใช้วิจารณญาณอย่างมากในการรับข่าวสารเหล่านั้น โดยเฉพาะในโลก Twitter การรับสารในช่วงนี้ทำให้นึกถึงทักษะการอ่านที่หลายท่านได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาหรือระดับอุดมศึกษามาก่อนแล้ว นั่นคือ การแยกข้อเทจจริง และข้อคิดเห็น (Understanding Fact and Opinion)

        ข่าวชิิ้นหนึ่งมักจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง (Fact) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้และเป็นที่ยอมรับ และข้อคิดเห็น (Opinion) อันเป็นข้อมูลที่ยังไม่สามารถสนับสนุนยืนยันได้ บางครั้งผู้เขียนข่าวจะสอดแทรกข้อคดิเห็นอยู่ในเนื่อข่าว ซึ่งผู้อ่านจะต้องตีความด้วยตัวเอง

        ลักษณะของข้อเท็จจริงนั้นต้องมีความเป็นไปได้ มีความสมจริง มีหลักฐานเชื่อถือได้ มีความสมเหตุสมผล ในที่นี่จะยกตัวอย่างชิ้นข่าวจาก Thaipbs https://news.thaipbs.or.th/content/301393 ความว่า "เวลา 17.30 น. ไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ให้มวลชนนำต้นไม้ที่วางประดับอยู่โดยรอบ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ออกจากพื้นที่" ข้อความนี่เป็นข้อความจริงที่เกิดชึ้น ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากคลิปวิดีโอถ่ายทอดสด จากหลายสำนัก

        ในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งขอยกตัวอย่างจาก Thaipbs https://news.thaipbs.or.th/content/301397 ความว่า "เวลาประมาณ 21.00 น. มีเสียงคล้ายประทัดดังถี่ขึ้นหลายครั้ง" ข้อความนี้เห็นความคิดเห็นของผู้เขียน เนื่องจากเป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน เมืื่อถามว่าเกิดจริงไหม คำตอบคือเกิดตามเวลาจริงแต่ผู้เขียนไม่ทราบแหล่งกำเนิดเสียงและจำนวนครั้งจึงใส่การคาดคะเนลงไป ผมขอยกตัวอย่างข้อมูลชุดอีกหนึ่งจากข่าวสด https://www.khaosod.co.th/politics/news_5945570 ความว่า "เวลา 19.20 น. รถปราศรัยเคลื่อนไปข้างหน้า ในขณะที่ประชาชนนั่งปักหลักบนถนนหน้าศาลฎีกาเกือบเต็มพื้นที่" เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก เนื่องจากว่าผู้เขียนไม่ทราบจำนวนของผู้เข้าชุมนุมที่แน่นอนจึงใส่ความรู้สึกลงไป นอกจากนี้ข้อความที่แสดงการเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย ข้อเสนอแนะ ความคิด หรือความเชื่อของผู้พูดและผู้เขียนเอง ล้วนแล้วแต่เป็นความคิดเห็นทั้งสิ้น 

        ฉะนั้นการเเสพสื่อโดยใช้หลักการแยกข้อเทจจริง และข้อคิดเห็น (Understanding Fact and Opinion) จะช่วยให้เราเสพสื่อได้อย่างมีคุณภาพ และอยู่รอดในสงครามที่สู้กันด้วยข่าวสาร

แหล่งที่มา: 

ข่าวสด. (2564).   ด่วน สถานการณ์ชุลมุน! เสียงคล้ายระเบิดสนั่น ชิงสลายม็อบกลับบ้าน มีคนเจ็บ.  สืบค้นเมืื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_5945570

ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2559).  ข้อเท็จจริง ข้อสนับสนุน และข้อคิดเห็น. สืบค้นเมืื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564,   จาก http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31107-043672

ไทยพีบีเอส. (2564).   ไทม์ไลน์ "นับ 1 ถึงล้าน" ทวงคืนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย. สืบค้นเมืื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/301393

ไทยพีบีเอส. (2564).   เสียงคล้ายประทัด! วุ่น หลังยุติชุมนุมสนามหลวง.  สืบค้นเมืื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/301397

นงคราญ เจริญพงษ์. (2564). การแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น .  สืบค้นเมืื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564,   จาก  https://kunkrunongkran.wordpress.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%A1-2/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%A1-2-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A1-2/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B4

Gallagher Nancy. (2005). Delta's Key to the Next Generation TOEFL Test Advance Skill Practice for the iBT. Illinois: Delta Publishing

Comments

Popular Posts